สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลลำปางหลวง
ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลลำปางหลวง เริ่มจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำปางหลวงครั้งแรก และได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลลำปางหลวง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำปางหลวง เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2539 ปรับขนาดลำดับชั้นขององค์การบริหารส่วนตำบลจากขนาดเล็กเป็นขนาดกลางเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2550 และกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลลำปางหลวงเป็นเทศบาลตำบลลำปางหลวง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ปรับขนาดลำดับชั้นของเทศบาลตำบลจากขนาดเล็กเป็นขนาดกลางเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2554
ข้อมูลทั่วไป
แผนที่แสดงอาณาเขตเทศบาลตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา
- ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลลำปางหลวง ตั้งอยู่เลขที่ 385 หมู่ 11 บ้านจามเทวี ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะคา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1034 (ถนนสายเกาะคา – ห้างฉัตร) เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ กับตำบลและอำเภอใกล้เคียง ดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง และตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเกาะคา ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลใหม่พัฒนา ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
- พื้นที่
ตำบลลำปางหลวง มีพื้นที่รวมประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,303 ไร่ หรือพื้นที่ประมาณร้อยละ 5.08 ของพื้นที่ของอำเภอ
- ภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ตำบลลำปางหลวง โดยทั่วไปเป็นที่ราบพื้นที่ทั่วไปมีความลาดเอียงจากทิศเหนือไป ทางทิศใต้ดินมีลักษณะเป็นดินร่วน อินทรีย์ วัตถุต่ำ เหมาะแก่การทำนา และปลูกพืช หมุนเวียน เช่น กระเทียม ถั่วเหลือง
- หมู่บ้านในเขตความรับผิดชอบ
เทศบาลตำบลลำปางหลวงมีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ จำนวน 13 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน | ผู้นำชุมชน | เบอร์โทร |
ครัวเรือน(หลังคา) |
|
1 | บ้านลำปางหลวง | นางวริดา | สุขมูล | 086-1950732 | 244 |
2 | บ้านลำปางหลวงใต้ | นายอารันต์ | ถาวรรณา | 081-1691423 | 215 |
3 | บ้านป่าเหียง | นายเบนซิน | ขัตตินนท์ | 061-3436835 | 215 |
4 | บ้านนางเหลียว | นายสมชาย | เมฆสวัสดิ์ | 089-9168567 | 425 |
5 | บ้านจู๊ด | นายนิรันดร์ | ต๊ะวิชัย | 082-0328297 | 353 |
6 | บ้านม้าเหนือ | นายจำลอง | คำวรัตน์ | 089-9558208 | 265 |
7 | บ้านลอมศรีป้อ | นายสมยศ | ขนานใต้ | 089-7583713 | 161 |
8 | บ้านกองหาญ | นายนิกร | นวลหงษ์ | 095-1341282 | 299 |
9 | บ้านม้าใต้ | นายจารึก | จอมคีรี | 089-9996661 | 131 |
10 | บ้านจู้ดทุ่ง | นายไอ้ | โยสิทธิ์ | 080-5019973 | 250 |
11 | บ้านจามเทวี | นายอดิเทพ | จันทร์ทิพย์ | 0801344162 | 256 |
12 | บ้านปงป่าม่วง | นายบุญถิ่น | วงค์ธิดา | 087-1808325 | 214 |
13 | บ้านม้ากลาง | นายนิพนธ์ | มะลิวัน | 081-8858633 | 246 |
รวม |
3,275 |
- จำนวนประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 9,461 คน แยกเป็น ชาย 4,540 คน หญิง 4,921 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 345 คน/ตารางกิโลเมตร โดยแยกจำนวนประชากรตามหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนประชากร(คน) | ||
ชาย | หญิง | รวม | ||
1 | บ้านลำปางหลวง | 316 | 353 | 669 |
2 | บ้านลำปางหลวงใต้ | 243 | 279 | 522 |
3 | บ้านป่าเหียง | 348 | 325 | 673 |
4 | บ้านนางเหลียว | 624 | 660 | 1,284 |
5 | บ้านจู้ด | 433 | 495 | 928 |
6 | บ้านม้าเหนือ | 334 | 337 | 671 |
7 | บ้านลอมศรีป้อ | 233 | 268 | 501 |
8 | บ้านกองหาญ | 439 | 455 | 894 |
9 | บ้านม้าใต้ | 170 | 188 | 358 |
10 | บ้านจู้ดทุ่ง | 377 | 439 | 816 |
11 | บ้านจามเทวี | 317 | 347 | 664 |
12 | บ้านปงป่าม่วง | 270 | 332 | 602 |
13 | บ้านม้ากลาง | 352 | 381 | 733 |
รวม | 4,456 | 4,859 | 9,315 |
ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม 2562
- สภาพทางเศรษฐกิจ
6.1 อาชีพ มีการประกอบอาชีพ ดังนี้
1) การเกษตร ราษฎรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำนา รองลงมาคือ ทำสวน ปลูกพืชหมุนเวียน ทั่วไป เช่น ถั่วเหลือง กระเทียม เป็นต้น
2) การเลี้ยงสัตว์ เป็นการเลี้ยงรายย่อย แบบครัวเรือน เลี้ยงเพื่อเป็นรายได้เสริม สัตว์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ สำหรับ โค และ กระบือ จะเลี้ยง แบบธรรมชาติ ให้สัตว์หากินตามทุ่งนา
3) การหัตถกรรม มีการผลิตสินค้า หัตถกรรมพื้นบ้านที่สำคัญ เช่น การทำกล่องข้าวจากใบตาล ทำไม้กวาดทาง มะพร้าว แคร่ไม้ไผ่ เครื่องจักรสานต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากไมยราพยักษ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ยาง พารา โดยจะผลิตในลักษณะครัวเรือน ไม่มีการรวมกลุ่มอาชีพ
4) การค้าขาย มีการประกอบอาชีพค้าขาย โดยออกขายตามต่างจังหวัด ต่างอำเภอ สินค้าที่ค้าขายเช่น เครื่องปั้นดินเผา เซรามิค เครื่องใช้ในครัวเรือน สินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นต้น
6.2 หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบล
1) ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 6 แห่ง
2) โรงงานอุตสาหกรรม 27 แห่ง
3) โรงงานอิฐมอญ 15 แห่ง
4) โรงสี 8 แห่ง
5) ร้านค้าของชำ 62 แห่ง
6) ร้านซ่อมรถ 8 แห่ง
7) น้ำดื่ม 2 แห่ง
8) ตลาด 4 แห่ง
9) ร้านขายอาหาร 14 แห่ง
10) วัสดุก่อสร้าง 2 แห่ง
11) อื่นๆ 58 แห่ง
- สภาพทางสังคม
7.1 การศึกษา
1) โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง
2) ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 12 แห่ง
3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
4) ศาลาประชาคม 13 แห่ง
5) หอกระจายข่าวและเสียงตามสาย 13 แห่ง
7.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
1) วัด / สำนักสงฆ์ 7 แห่ง
7.3 สาธารณสุข
1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 2 แห่ง
2) อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100%
7.4 กีฬา นันทนาการ / พักผ่อน
1) สนามกีฬาเอนกประสงค์ 3 แห่ง
2) สนามฟุตบอล 6 แห่ง
3) สนามฟุตซอล 1 แห่ง
4) สนามตระกร้อ 12 แห่ง
5) สนามเด็กเล่น 10 แห่ง
6) สระว่ายน้ำ 1 แห่ง
- การบริการพื้นฐาน
8.1 การคมนาคม
เป็นการคมนาคมทางบก ไม่มีการคมนาคมทางน้ำและทางอากาศ การคมนาคม ระหว่าง ตำบลใช้เส้นทางถนนโดยมีเส้นทางที่สำคัญ คือ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1034 สายเกาะคา – ห้างฉัตร การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านใช้เส้นทางถนน โดยบางช่วง เป็นถนนลูกรังบางช่วงเป็นถนนคอนกรีตและบางช่วง เป็นถนนลาดยาง
8.2 การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลรวมทั้งหมด 13 หมู่บ้าน
- ข้อมูลอื่น ๆ
9.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
หนอง บึง จำนวน 2 แห่ง คือ
1) หนองแฝก
2) หนองงู
คลอง ลำธาร ห้วย จำนวน 5 ลำห้วย
1) ลำห้วยแม่เถาวัลย์
2) ลำห้วยแม่แก้
3) ลำห้วยแม่ตาล
4) ลำห้วยแม่เอี้ยง
5) ลำเหมืองแอ้ว
ศักยภาพในตำบล
- ศักยภาพของเทศบาลตำบลลำปางหลวง
1.1 โครงสร้างและระบบการบริหารราชการของเทศบาลตำบลลำปางหลวง
เทศบาลตำบลลำปางหลวง แบ่งโครงสร้างและระบบการบริหารราชการออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
1.1.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย ประธานสภาเทศบาลตำบลลำปางหลวง และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลลำปางหลวง รวม 12 คน
1.1.2 ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีตำบลลำปางหลวง รองนายกเทศมนตรีตำบลลำปางหลวง ปลัดเทศบาลตำบลลำปางหลวง สำนักปลัดเทศบาล กองคลัง กองช่าง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม แยกเป็น
1) สำนักงานปลัดเทศบาล มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ การบรรณการจัดทำแผนพัฒนาตำบล การจัดทำร่างข้อบังคับ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาเทศบาล นายกเทศมนตรี การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบ การปกครองบังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้าง การบริหารงานบุคคลของ เทศบาลทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
2) กองคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ – จ่ายเงินทุกประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน เทศบาล รวบรวมสถิติเงินได้ประเภทต่าง ๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ การหักภาษีและนำส่ง รายงานคงเหลือประจำวัน การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ เทศบาล การยืมเงินทดรองราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินการเร่งรัดใบสำคัญและเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
3) กองช่าง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของ เทศบาล การอนุมัติเพื่อดำเนินการตามโครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของเทศบาล งานบำรุงซ่อมแซมและจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบเทศบาล การจัดทำโครงการและออกแบบก่อสร้างแก่เทศบาลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุม ปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
4) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ งานสุขาภิบาลและอนามัยและสิ่งแวดล้อม งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ งานรักษาความสะอาด งานสัตวแพทย์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
1.1.3 จำนวนบุคลากร มีจำนวน 63 คน ดังนี้
1) พนักงานเทศบาล จำนวน 27 คน แยกเป็น ปลัดเทศบาล จำนวน 1 คน, สำนักปลัดเทศบาล จำนวน 8 คน, กองคลัง จำนวน 7 คน, กองช่าง จำนวน 3 คน, กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 คน กองการศึกษา จำนวน 3 คน และหน่วยงานตรวจสอบภายใน จำนวน 1 คน
2) พนักงานครูเทศบาล กองศึกษา จำนวน 3 คน
3) ลูกจ้างประจำ กองคลัง จำนวน 1 คน
4) พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 12 คน แยกเป็น สำนักปลัดเทศบาล จำนวน 1 คน, กองคลัง จำนวน 1 คน, กองช่าง จำนวน 2 คน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 คน และ กองศึกษา จำนวน 7 คน
5) พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 15 คน แยกเป็น สำนักปลัดเทศบาล จำนวน 7 คน, กองช่าง จำนวน 3 คน กองคลัง จำนวน 2 คน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 คน และ กองศึกษา จำนวน 1 คน
1.1.4 ระดับการศึกษาของบุคลากร
1) ปริญญาโท จำนวน 17 คน
2) ปริญญาตรี จำนวน 33 คน
3) มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา จำนวน 9 คน
4) ประถมศึกษา จำนวน 4 คน
แผนภูมิแสดงโครงสร้างของเทศบาลตำบลลำปางหลวง
1.2 การบริหารงบประมาณของเทศบาลตำบลลำปางหลวงในปีที่ผ่านมา
ในปีงบประมาณที่ผ่านมา แม้ว่ารายรับของเทศบาลตำบลจะมีจำนวนจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับภารกิจต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการเพื่อบริการให้แก่ประชาชนตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายก็ตาม แต่เทศบาลตำบลลำปางหลวงก็สามารถดำเนินกิจการตามที่ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ครบถ้วนทุกรายการ มีรายละเอียดดังนี้
1.2.1 สรุปรายรับจริงประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 จำนวน 58,412,320.78 บาท แยกเป็น
1) รายได้หมวดภาษีอากร 554,261,.25 บาท
2) รายได้หมวดค่าธรรมเนียม ค่าปรับและค่าใบอนุญาต 798,471.00 บาท
3) รายได้หมวดรายได้จากทรัพย์สิน 216,521.46 บาท
4) รายได้หมวดรายได้ค่าสาธารณูปโภคและพาณิชย์ 261,341.00 บาท
5) รายได้หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด 131,314.00 บาท
6) รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บแล้วจัดสรรให้ 24,234,447.07 บาท
7) รายได้ที่รัฐบาลอุดหนุนให้ 31,945,965.00 บาท
1.2.2 สรุปรายจ่ายจริงประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561จำนวน 56,191,602.58บาท จำแนกตามแผนงาน ดังนี้
1) แผนงานบริหารทั่วไป 13,914,147.85 บาท
2) แผนงานรักษาความสงบภายใน 417365.00 บาท
3) แผนงานการศึกษา 3,402,247.68 บาท
4) แผนงานสาธารณสุข 3,669,356.70 บาท
5) แผนงานเคหะและชุมชน 8,381,840.59 บาท
6) แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา 4,314,138.00 บาท
7) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 417,728.00 บาท
8) แผนงานศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ 933,766.76 บาท
9) แผนงานสังคมสงเคราะห์ 21,100.00 บาท
10) แผนงานงบกลาง 20,719,912.00 บาท
- ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
2.1 การรวมกลุ่มของประชาชน
มีการรวมกลุ่มอาชีพในตำบลลำปางหลวง จำนวน 4 กลุ่มอาชีพ
2.2 จุดเด่นของพื้นที่
มีแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีที่สำคัญ คือ วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในบริเวณ ด้านทิศใต้ของหมู่ที่ 1 บ้านลำปางหลวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณ สถานที่สำคัญของจังหวัดลำปางและของตำบลลำปางหลวง